>>-:- ปรัชญา:: "ผู้บริหารที่ผ่านการพัฒนาจะเป็นผู้บริหารที่ดี เก่ง แข็งแรง อดทน และสามารถบริหารงานในส่วนที่ตนรับผิดชอบและเกี่ย่วข้องสัมพันธ์กับหน่วยงานอื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ"
หน้าหลัก|เวปลิงค์|เวปบอร์ด ผบต.18|เกี่ยวกับเวปนี้

วันอาทิตย์ที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2551

เอกสารจัดทำขณะบรรยายเรื่อง การบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่


เอกสารจัดทำขณะบรรยายเรื่อง การบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่
รองศาสตราจารย์ ดร.สุรชาติ ณ หนองคาย
ภาควิชาบริหารงานสาธารณสุข คณะสาธารณสุขศาสตร์
มหาวิทยาลัยมหิดล
----------------------------------

หัวข้อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ก่อน หวัง หลัง ต่าง
๑.บริหาร กับ การจัดการ
๒.กระบวนการบริหารกับกระบวนการจัดการ
๓.ประเภทของแผนตามช่วงเวลา
๔.การประเมินแบบ Evaluation, Appraisal, Assessment
๕.องค์ประกอบสำคัญของการประเมิน
๖.การป้องกันผลลัพธ์แบบ Six Sigma
๗.แบบจำลอง CIPP
๘.Blueprint for Change
๙. BSC
๑๐. การปฏิรูประบบราชการไทย
๑๑.อุปสรรคสำคัญในการแข่งขันของภาครัฐ
๑๒.การจัดทำคำรับรองการปฏิบัติราชการ
๑๓.การบริหารทรัพยากรบุคคลตามแนวทาง HR. Scorecard
๑๔.ความสัมพันธ์ของ QC,TQC,TQM,MBNQA
๑๕. ความสัมพันธ์ของTQA กับPMQA
๑๖. SWOT Analysis
๑๗. SIPOC Model
๑๘. การประเมิน ADLI
๑๙. การประเมิน LeTCLi
๒๐. การบริหารเชิงยุทธศาสตร์
--------------------------------------------------------------------------














วันเสาร์ที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2551

PMQA



หลักทำ : 7 Category ::

1.การนำองค์กร
1.1. การนำองค์กร
1.2. ธรรมาภิบาล

2.การวางแผนเชิงกลยุทธ์
2.1.การจัดทำกลยุทธ์
2.2.การนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติ

3.การให้ความสำคัญกับผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
3.1.ความรู้เกี่ยวกับลูกค้าและตลาด
3.2.ความสัมพันธ์กับลูกค้าและความพึงพอใจของลูกค้า

4. การวัด การวิเคราะห์และการจัดการความรู้
4.1.การวัดและวิเคราะห์การดำเนินการขององค์กร
4.2.การจัดการสารสนเทศและความรู้

5.การมุ่งเน้นทรัพยากรบุคคล
5.1.ระบบงาน
5.2.การเรียนรู้และการสร้างแรงจูงใจ
5.3.ความผาสุกและความพึงพอใจของพนักงาน

6.การจัดการกระบวนการ

6.1.กระบวนการที่สร้างคุณค่า
6.2.กระบวนการสนับสนุน

7. ผลลัพธ์การดำเนินงาน
7.1 ผลลัพธ์ด้านประสิทธิผล
7.2 ผลลัพธ์ด้านคุณภาพ
7.3 ผลลัพธ์ด้านประสิทธิภาพ
7.4 ผลลัพธ์ด้านการพัฒนาองค์กร

การควบคุมภายในตามระเบียบ คตง.

ตามระเบียบ คตง. ว่าด้วยการกำหนดมาตรฐานการควบคุมภายใน พ.ศ.2544 ข้อ 5 ระบุว่า “ให้หน่วยรับตรวจจัดวางระบบการควบคุมภายในโดยใช้มาตรฐานการควบคุมภายในท้ายระเบียบนี้เป็นแนวทางให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่ระเบียบนี้ใช้บังคับ โดยอย่างน้อยต้องแสดงข้อมูล ดังนี้
1. สรุปภารกิจและวัตถุประสงค์การดำเนินงานที่สำคัญในระดับหน่วยรับตรวจ และระดับกิจกรรม
2. ข้อมูลเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมการควบคุม โดยเฉพาะเกี่ยวกับความซื่อสัตย์และจริยธรรมของผู้บริหารระดับสูงและบุคลากรในหน่วยรับตรวจ
3. ความเสี่ยงที่สำคัญที่มีผลกระทบต่อการบรรลุวัตถุประสงค์ของการควบคุมภายใน
4. ข้อมูลเกี่ยวกับกิจกรรมการควบคุมเพื่อป้องกันหรือลดความเสี่ยงที่สำคัญตาม (3)
5. ผู้รับผิดชอบประเมินระบบการควบคุมภายใน และวิธีการติดตามประเมินผลให้หน่วยรับตรวจรายงานความคืบหน้าในการจัดวางระบบการควบคุมภายในต่อผู้กำกับดูแล และคณะกรรมการตรวจสอบของหน่วยรับตรวจ (ถ้ามี) ทุกหกสิบวัน พร้อมทั้งส่งสำเนาให้สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินด้วย เว้นแต่สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินจะขอให้ดำเนินการเป็นอย่างอื่น”และตามระเบียบ คตง. ดังกล่าวข้อ
6 ระบุว่า “ให้ผู้รับตรวจรายงานต่อคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินผู้กำกับดูแล และคณะกรรมการตรวจสอบเกี่ยวกับการควบคุมภายในอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้งภายในเก้าสิบวันนับจากวันสิ้นปีงบประมาณ หรือ ปีปฏิทิน แล้วแต่กรณี เว้นแต่การรายงานครั้งแรกให้กระทำภายในสองร้อยสี่สิบวันนับจากวันวางระบบการควบคุมภายในแล้วเสร็จ โดยมีรายละเอียด ดังนี้
1. ทำความเห็นว่าระบบการควบคุมภายในของหน่วยรับตรวจที่ใช้อยู่มีมาตรฐานตามระเบียบนี้หรือไม่
2. รายงานผลการประเมินความเพียงพอและประสิทธิผลของระบบการควบคุมภายในในการบรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่กำหนด รวมทั้งข้อมูลสรุปผลการประเมินแต่ละองค์ประกอบของการควบคุมภาย
ในประกอบด้วย
1) สภาพแวดล้อมของการควบคุม
2) การประเมินความเสี่ยง
3) กิจกรรมการควบคุม
4) สารสนเทศและการสื่อสาร
5) การติดตามประเมินผล
3. จุดอ่อนของระบบการควบคุมภายในพร้อมข้อเสนอแนะและแผนการปรับปรุงระบบการควบคุมภายใน

การควบคุมภายใน

“การควบคุมภายในเป็นเครื่องมือที่ผู้บริหารนำมาใช้เพื่อให้ความมั่นใจอย่างสมเหตุสมผลว่าการดำเนินงานจะบรรลุผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ที่กำหนด”สถาบันตรวจเงินแผ่นดินระหว่างประเทศ(International Organization of Supreme Audit Institutions – INTOSAI)
“การควบคุมภายใน” หรือ “ระบบการควบคุมภายใน” เป็นคำที่ผู้บริหารระดับสูงขององค์กร ทุกคนไม่ว่าจะเป็นผู้บริหารภาครัฐ หรือ ภาคเอกชนจำเป็นจะต้องรู้จักและทำความเข้าใจ เพราะเป็นพันธกรณีที่สำคัญที่สุดอย่างหนึ่งของผู้ทำหน้าที่บริหารจะต้องปฏิบัติเพื่อให้กิจการงานต่าง ๆ ทั้งปวงสามารถปฏิบัติได้สำเร็จลุล่วงตามนโยบายและวัตถุประสงค์ขององค์กร การออกแบบการควบคุมภายใน และการปฏิบัติตามระบบการควบคุมภายในที่กำหนดก็เป็นเรื่องสำคัญสำหรับองค์กรเอกชนและองค์กรภาครัฐที่จะต้องจัดให้มีและให้ความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนกว่ากัน โดยเป็นความรับผิดชอบของผู้บริหารที่จะต้องจัดให้มีขึ้นระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี พ.ศ. 2542 ข้อ 7.5 กำหนดให้ใช้มาตรการเพื่อส่งเสริมและกำกับให้หน่วยงานของรัฐทุกแห่งกำหนดแผนการสร้างความโปร่งใสและป้องกันการทุจริตประพฤติมิชอบในระบบราชการและรายงานผลการดำเนินการในรอบปีต่อคณะรัฐมนตรีในส่วนของรัฐวิสาหกิจได้กำหนดใน หลักเกณฑ์และแนวทางการกำกับดูแลที่ดีในรัฐวิสาหกิจ ซึ่งได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี เมื่อ 16 กุมภาพันธ์ 2544 ให้รัฐวิสาหกิจถือปฏิบัติ ได้ระบุในหลักการให้คณะกรรมการรัฐวิสาหกิจและฝ่ายจัดการต้องถือเป็นความรับผิดชอบหลักในการจัดให้มีระบบการควบคุมที่ดี เพื่อพิทักษ์เงินลงทุนและสินทรัพย์ของรัฐวิสาหกิจ และเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการทำงานแต่เป็นที่น่าเสียดายว่าผู้บริหารระดับสูงของหน่วยงานภาครัฐ ส่วนใหญ่ยังเข้าใจในเรื่องการควบคุมภายในคลาดเคลื่อน กล่าวคือ จากการขอทราบข้อคิดเห็นเกี่ยวกับร่างมาตรฐานการ ควบคุม ภายในที่กำหนดโดยคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินของผู้บริหารระดับสูงของหน่วยงานภาครัฐ (ผู้รับตรวจ) จำนวน 500 หน่วยงาน ทั้งที่เป็นหน่วยงานส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค ส่วนท้องถิ่น และรัฐวิสาหกิจ ในระหว่างปี 2544 พบว่าผู้บริหารส่วนใหญ่เข้าใจว่าการควบคุมภายในเป็นหน้าที่และความ รับผิดชอบของผู้ตรวจสอบภายใน นอกจากนี้ยังเข้าใจว่าการควบคุมภายในมีความหมายอย่างเดียวกับการตรวจสอบภายใน ซึ่งแสดงว่าผู้บริหารหน่วยงานภาครัฐส่วนใหญ่ยังให้ความสนใจ และให้ความสำคัญน้อยมากในเรื่องการควบคุมภายในและไม่มีการออกแบบการควบคุมภายในที่ดีมาใช้อันหมายถึงระบบปฏิบัติราชการที่หย่อนยาน ด้อยประสิทธิภาพ และมีจุดอ่อนให้เกิดการทุจริตคอรับชั่นได้ง่ายระเบียบคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินว่าด้วยการกำหนดมาตรฐานการควบคุมภายใน พ.ศ. 2544ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อ 26 ตุลาคม 2544 กำหนดให้หน่วยรับตรวจ (หน่วยงานภาครัฐ) นำมาตรฐานการควบคุมภายในที่กำหนดโดยคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินไปใช้เป็นแนวทางจัดวางระบบการควบคุมภายใน3ให้เกิดประสิทธิผล และประสิทธิภาพให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งปีและรายงานความคืบหน้าทุก 2 เดือน หลังจากนั้นให้ส่งรายงานการควบคุมภายในให้ คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินและผู้เกี่ยวข้องทุกปีการที่หน่วยงานจะจัดวางระบบการควบคุมภายในตามมาตรฐานการควบคุมภายในฯ ดังกล่าว ให้มีประสิทธิผลและประสิทธิภาพ ในเบื้องต้นผู้บริหารต้องจัดให้มีสภาพแวดล้อมการควบคุมที่ดีในองค์กร ซึ่งเป็นสภาพแวดล้อมที่ทำให้บุคลากรในองค์กรมีความรับผิดชอบและเข้าใจขอบเขตอำนาจหน้าที่ของตนเอง และบุคลากรดังกล่าวจะต้องมีความรู้ ความสามารถ และทักษะที่จำเป็นต้องใช้ในการปฏิบัติงานตามที่ได้รับมอบหมายอย่างเพียงพอ นอกจากนี้บุคลากรดังกล่าวจะต้องยอมรับและปฏิบัติตามนโยบายและแนวทางการปฏิบัติงาน รวมถึงข้อกำหนดด้านจริยธรรมที่กำหนดโดยเฉพาะในเรื่องความ ซื่อสัตย์สุจริต เกี่ยวกับการวางแผน การปฏิบัติตามแผน การควบคุมดูแล และการติดตามผลนั้นเป็นองค์ประกอบพื้นฐานของการควบคุมภายใน ผู้บริหารอาจปฏิบัติงานเหล่านี้เป็นปกติประจำอยู่แล้วโดยไม่ได้คิดว่านี่คือส่วนหนึ่งของสภาพแวดล้อมการควบคุมซึ่งช่วยให้เกิดความมั่นใจในผลงานที่รับผิดชอบการควบคุมภายในช่วยให้ความมั่นใจอย่างสมเหตุสมผลว่าภายในองค์กร:
• มีการปฏิบัติตาม กฎหมาย ระเบียบกฎเกณฑ์ และคำสั่งของผู้บริหาร
• ช่วยส่งเสริมให้การดำเนินงาน มีประสิทธิภาพ ประหยัด มีประสิทธิผล และบรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมาย
• มีการดูแลป้องกันทรัพยากรจากการทุจริต ความเสียหาย การสูญเปล่าหรือการบริหาร จัดการที่ผิดพลาด
• จัดให้มีและดำรงไว้ซึ่งข้อมูลทางการเงินและการบริหารที่เชื่อถือได้ และทันต่อเวลา
ดังนั้นจึงเป็นสิ่งจำเป็นที่ผู้บริหารทุกคนจะต้องเข้าใจถึงความสำคัญของการควบคุมภายใน และ จัดให้มีและดำรงรักษาไว้ซึ่งการควบคุมภายในที่มีประสิทธิผล ด้วยเหตุผลดังกล่าวคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินจึงได้จัดทำสิ่งพิมพ์เผยแพร่นี้ขึ้นเพื่อ:
• ให้ตัวอย่างโครงสร้างการควบคุมภายในในภาพรวมที่ควรจัดให้มีขึ้นและดำรงรักษาไว้ซึ่งการควบคุมภายในที่มีประสิทธิผล
• ให้เข้าใจบทบาทและความรับผิดชอบต่อการควบคุมภายในของผู้บริหารและผู้ตรวจสอบภายใน• ให้ทราบการควบคุมภายในที่นิยมปฏิบัติกันทั่วไป
• ให้ Checklist ง่าย ๆ เพื่อช่วยการพิจารณาเบื้องต้นของผู้บริหารว่าหน่วยงานในความรับผิดชอบได้เริ่มดำเนินการเป็นขั้นตอนอย่างเหมาะสมเพื่อให้ความมั่นใจถึงการควบคุมภายในที่มีประสิทธิผลหรือยัง ?

ผู้บริหารควรตระหนักว่าโครงสร้างการควบคุมภายในที่ดีเป็นพื้นฐานที่สำคัญของการควบคุมเพื่อให้บรรลุผลตามวัตถุประสงค์ขององค์กรทั้งด้านการดำเนินงานและการใช้ทรัพยากร”การจัดให้มีโครงสร้างการควบคุมภายในที่มีประสิทธิผล และเพียงพอนั้นขึ้นอยู่กับผู้บริหารของหน่วยงาน ผู้บริหารหรือผู้นำของหน่วยงานภาครัฐไม่ว่าจะเป็นส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานของรัฐต่าง ๆ ต้องดำเนินการเพื่อความมั่นใจได้ว่าหน่วยงานของตนมีโครงสร้างการ ควบคุมภายในที่เหมาะสมและการควบคุมภายในได้รับการตรวจทานและปรับปรุงให้ทันกับ เหตุการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปเพื่อให้การควบคุมนั้นมีประสิทธิผลอยู่เสมอ ทัศนคติที่ดีต่อการควบคุมภายใน และการสนับสนุนจากผู้บริหารเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้เกิดการควบคุมภายในที่ดีในองค์กร นอกจากนี้ผู้บริหารต้องเป็นผู้ที่มีความซื่อสัตย์สุจริตทั้งต่อตนเองและต่อองค์กร และควรมีความรู้ความเข้าใจอย่างเพียงพอในหลักการพื้นฐานของการควบคุมภายในและให้ความสำคัญของการ จัดให้มีการควบคุมภายใน การนำการควบคุมภายในไปปฏิบัติ และการดำรงรักษาไว้ซึ่งการ ควบคุมภายในที่มีประสิทธิผลผู้บริหารควรจัดให้มีหน่วยตรวจสอบภายในที่เป็นอิสระเป็นส่วนหนึ่งของโครงสร้างการควบคุมภายในเพื่อให้มั่นใจถึงความเป็นอิสระดังกล่าว หัวหน้าหน่วยงานตรวจสอบภายในควรอยู่ในบังคับบัญชาโดยตรงของผู้บริหารสูงสุดขององค์กร ผู้บริหารควรคัดเลือกผู้ที่มีประสบการณ์และ มีคุณสมบัติเหมาะสมที่จะเป็นหัวหน้าหน่วยตรวจสอบภายในและจัดให้มีทรัพยากรที่เพียงพอและมีบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถที่จะทำหน้าที่ตรวจสอบภายในได้ ซึ่งจะทำให้ผู้บริหารสามารถทำงานอย่างสร้างสรรค์ร่วมกับผู้ตรวจสอบภายในในการระบุความเสี่ยง และออกแบบการควบคุมที่จะป้องกันหรือลดความเสี่ยงนั้น และมอบหมายความรับผิดชอบให้ผู้ตรวจสอบ ภายในประเมินผลการควบคุมภายในเป็นระยะ ๆ เพื่อทราบจุดอ่อนของการควบคุมภายในและเสนอแนะมาตรการแก้ไขข้อบกพร่องนั้น

วันพุธที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

การจัดการความรู้ (KM)

การจัดการความรู้
(Knowledge Management-KM)
การจัดการความรู้ หรือที่เรียกย่อๆ ว่า KM คือ เครื่องมือ เพื่อใช้ในการบรรลุเป้าหมายอย่างน้อย 3ประการไปพร้อมๆ กัน ได้แก่ บรรลุเป้าหมายของงาน บรรลุเป้าหมายการพัฒนาคน และบรรลุเป้าหมาย
การพัฒนาองค์กรไปสู่การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้
ดังนั้นการจัดการความรู้จึงไม่ใช่เป้าหมายในตัวของมันเอง เมื่อไรก็ตามที่มีการเข้าใจผิด เอาการ
จัดการความรู้เป็นเป้าหมาย ความผิดพลาดก็เริ่มเดินเข้ามา อันตรายทีจะเกิดตามมาคือ การจัดการความรู้
เทียม หรือ ปลอม เป็นการดําเนินการเพียงเพื่อให้ได้ชื่อว่ามีการจัดการความรู้เทานั้นเอง