>>-:- ปรัชญา:: "ผู้บริหารที่ผ่านการพัฒนาจะเป็นผู้บริหารที่ดี เก่ง แข็งแรง อดทน และสามารถบริหารงานในส่วนที่ตนรับผิดชอบและเกี่ย่วข้องสัมพันธ์กับหน่วยงานอื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ"
หน้าหลัก|เวปลิงค์|เวปบอร์ด ผบต.18|เกี่ยวกับเวปนี้

วันเสาร์ที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2551

การควบคุมภายใน

“การควบคุมภายในเป็นเครื่องมือที่ผู้บริหารนำมาใช้เพื่อให้ความมั่นใจอย่างสมเหตุสมผลว่าการดำเนินงานจะบรรลุผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ที่กำหนด”สถาบันตรวจเงินแผ่นดินระหว่างประเทศ(International Organization of Supreme Audit Institutions – INTOSAI)
“การควบคุมภายใน” หรือ “ระบบการควบคุมภายใน” เป็นคำที่ผู้บริหารระดับสูงขององค์กร ทุกคนไม่ว่าจะเป็นผู้บริหารภาครัฐ หรือ ภาคเอกชนจำเป็นจะต้องรู้จักและทำความเข้าใจ เพราะเป็นพันธกรณีที่สำคัญที่สุดอย่างหนึ่งของผู้ทำหน้าที่บริหารจะต้องปฏิบัติเพื่อให้กิจการงานต่าง ๆ ทั้งปวงสามารถปฏิบัติได้สำเร็จลุล่วงตามนโยบายและวัตถุประสงค์ขององค์กร การออกแบบการควบคุมภายใน และการปฏิบัติตามระบบการควบคุมภายในที่กำหนดก็เป็นเรื่องสำคัญสำหรับองค์กรเอกชนและองค์กรภาครัฐที่จะต้องจัดให้มีและให้ความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนกว่ากัน โดยเป็นความรับผิดชอบของผู้บริหารที่จะต้องจัดให้มีขึ้นระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี พ.ศ. 2542 ข้อ 7.5 กำหนดให้ใช้มาตรการเพื่อส่งเสริมและกำกับให้หน่วยงานของรัฐทุกแห่งกำหนดแผนการสร้างความโปร่งใสและป้องกันการทุจริตประพฤติมิชอบในระบบราชการและรายงานผลการดำเนินการในรอบปีต่อคณะรัฐมนตรีในส่วนของรัฐวิสาหกิจได้กำหนดใน หลักเกณฑ์และแนวทางการกำกับดูแลที่ดีในรัฐวิสาหกิจ ซึ่งได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี เมื่อ 16 กุมภาพันธ์ 2544 ให้รัฐวิสาหกิจถือปฏิบัติ ได้ระบุในหลักการให้คณะกรรมการรัฐวิสาหกิจและฝ่ายจัดการต้องถือเป็นความรับผิดชอบหลักในการจัดให้มีระบบการควบคุมที่ดี เพื่อพิทักษ์เงินลงทุนและสินทรัพย์ของรัฐวิสาหกิจ และเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการทำงานแต่เป็นที่น่าเสียดายว่าผู้บริหารระดับสูงของหน่วยงานภาครัฐ ส่วนใหญ่ยังเข้าใจในเรื่องการควบคุมภายในคลาดเคลื่อน กล่าวคือ จากการขอทราบข้อคิดเห็นเกี่ยวกับร่างมาตรฐานการ ควบคุม ภายในที่กำหนดโดยคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินของผู้บริหารระดับสูงของหน่วยงานภาครัฐ (ผู้รับตรวจ) จำนวน 500 หน่วยงาน ทั้งที่เป็นหน่วยงานส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค ส่วนท้องถิ่น และรัฐวิสาหกิจ ในระหว่างปี 2544 พบว่าผู้บริหารส่วนใหญ่เข้าใจว่าการควบคุมภายในเป็นหน้าที่และความ รับผิดชอบของผู้ตรวจสอบภายใน นอกจากนี้ยังเข้าใจว่าการควบคุมภายในมีความหมายอย่างเดียวกับการตรวจสอบภายใน ซึ่งแสดงว่าผู้บริหารหน่วยงานภาครัฐส่วนใหญ่ยังให้ความสนใจ และให้ความสำคัญน้อยมากในเรื่องการควบคุมภายในและไม่มีการออกแบบการควบคุมภายในที่ดีมาใช้อันหมายถึงระบบปฏิบัติราชการที่หย่อนยาน ด้อยประสิทธิภาพ และมีจุดอ่อนให้เกิดการทุจริตคอรับชั่นได้ง่ายระเบียบคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินว่าด้วยการกำหนดมาตรฐานการควบคุมภายใน พ.ศ. 2544ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อ 26 ตุลาคม 2544 กำหนดให้หน่วยรับตรวจ (หน่วยงานภาครัฐ) นำมาตรฐานการควบคุมภายในที่กำหนดโดยคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินไปใช้เป็นแนวทางจัดวางระบบการควบคุมภายใน3ให้เกิดประสิทธิผล และประสิทธิภาพให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งปีและรายงานความคืบหน้าทุก 2 เดือน หลังจากนั้นให้ส่งรายงานการควบคุมภายในให้ คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินและผู้เกี่ยวข้องทุกปีการที่หน่วยงานจะจัดวางระบบการควบคุมภายในตามมาตรฐานการควบคุมภายในฯ ดังกล่าว ให้มีประสิทธิผลและประสิทธิภาพ ในเบื้องต้นผู้บริหารต้องจัดให้มีสภาพแวดล้อมการควบคุมที่ดีในองค์กร ซึ่งเป็นสภาพแวดล้อมที่ทำให้บุคลากรในองค์กรมีความรับผิดชอบและเข้าใจขอบเขตอำนาจหน้าที่ของตนเอง และบุคลากรดังกล่าวจะต้องมีความรู้ ความสามารถ และทักษะที่จำเป็นต้องใช้ในการปฏิบัติงานตามที่ได้รับมอบหมายอย่างเพียงพอ นอกจากนี้บุคลากรดังกล่าวจะต้องยอมรับและปฏิบัติตามนโยบายและแนวทางการปฏิบัติงาน รวมถึงข้อกำหนดด้านจริยธรรมที่กำหนดโดยเฉพาะในเรื่องความ ซื่อสัตย์สุจริต เกี่ยวกับการวางแผน การปฏิบัติตามแผน การควบคุมดูแล และการติดตามผลนั้นเป็นองค์ประกอบพื้นฐานของการควบคุมภายใน ผู้บริหารอาจปฏิบัติงานเหล่านี้เป็นปกติประจำอยู่แล้วโดยไม่ได้คิดว่านี่คือส่วนหนึ่งของสภาพแวดล้อมการควบคุมซึ่งช่วยให้เกิดความมั่นใจในผลงานที่รับผิดชอบการควบคุมภายในช่วยให้ความมั่นใจอย่างสมเหตุสมผลว่าภายในองค์กร:
• มีการปฏิบัติตาม กฎหมาย ระเบียบกฎเกณฑ์ และคำสั่งของผู้บริหาร
• ช่วยส่งเสริมให้การดำเนินงาน มีประสิทธิภาพ ประหยัด มีประสิทธิผล และบรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมาย
• มีการดูแลป้องกันทรัพยากรจากการทุจริต ความเสียหาย การสูญเปล่าหรือการบริหาร จัดการที่ผิดพลาด
• จัดให้มีและดำรงไว้ซึ่งข้อมูลทางการเงินและการบริหารที่เชื่อถือได้ และทันต่อเวลา
ดังนั้นจึงเป็นสิ่งจำเป็นที่ผู้บริหารทุกคนจะต้องเข้าใจถึงความสำคัญของการควบคุมภายใน และ จัดให้มีและดำรงรักษาไว้ซึ่งการควบคุมภายในที่มีประสิทธิผล ด้วยเหตุผลดังกล่าวคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินจึงได้จัดทำสิ่งพิมพ์เผยแพร่นี้ขึ้นเพื่อ:
• ให้ตัวอย่างโครงสร้างการควบคุมภายในในภาพรวมที่ควรจัดให้มีขึ้นและดำรงรักษาไว้ซึ่งการควบคุมภายในที่มีประสิทธิผล
• ให้เข้าใจบทบาทและความรับผิดชอบต่อการควบคุมภายในของผู้บริหารและผู้ตรวจสอบภายใน• ให้ทราบการควบคุมภายในที่นิยมปฏิบัติกันทั่วไป
• ให้ Checklist ง่าย ๆ เพื่อช่วยการพิจารณาเบื้องต้นของผู้บริหารว่าหน่วยงานในความรับผิดชอบได้เริ่มดำเนินการเป็นขั้นตอนอย่างเหมาะสมเพื่อให้ความมั่นใจถึงการควบคุมภายในที่มีประสิทธิผลหรือยัง ?

ผู้บริหารควรตระหนักว่าโครงสร้างการควบคุมภายในที่ดีเป็นพื้นฐานที่สำคัญของการควบคุมเพื่อให้บรรลุผลตามวัตถุประสงค์ขององค์กรทั้งด้านการดำเนินงานและการใช้ทรัพยากร”การจัดให้มีโครงสร้างการควบคุมภายในที่มีประสิทธิผล และเพียงพอนั้นขึ้นอยู่กับผู้บริหารของหน่วยงาน ผู้บริหารหรือผู้นำของหน่วยงานภาครัฐไม่ว่าจะเป็นส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานของรัฐต่าง ๆ ต้องดำเนินการเพื่อความมั่นใจได้ว่าหน่วยงานของตนมีโครงสร้างการ ควบคุมภายในที่เหมาะสมและการควบคุมภายในได้รับการตรวจทานและปรับปรุงให้ทันกับ เหตุการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปเพื่อให้การควบคุมนั้นมีประสิทธิผลอยู่เสมอ ทัศนคติที่ดีต่อการควบคุมภายใน และการสนับสนุนจากผู้บริหารเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้เกิดการควบคุมภายในที่ดีในองค์กร นอกจากนี้ผู้บริหารต้องเป็นผู้ที่มีความซื่อสัตย์สุจริตทั้งต่อตนเองและต่อองค์กร และควรมีความรู้ความเข้าใจอย่างเพียงพอในหลักการพื้นฐานของการควบคุมภายในและให้ความสำคัญของการ จัดให้มีการควบคุมภายใน การนำการควบคุมภายในไปปฏิบัติ และการดำรงรักษาไว้ซึ่งการ ควบคุมภายในที่มีประสิทธิผลผู้บริหารควรจัดให้มีหน่วยตรวจสอบภายในที่เป็นอิสระเป็นส่วนหนึ่งของโครงสร้างการควบคุมภายในเพื่อให้มั่นใจถึงความเป็นอิสระดังกล่าว หัวหน้าหน่วยงานตรวจสอบภายในควรอยู่ในบังคับบัญชาโดยตรงของผู้บริหารสูงสุดขององค์กร ผู้บริหารควรคัดเลือกผู้ที่มีประสบการณ์และ มีคุณสมบัติเหมาะสมที่จะเป็นหัวหน้าหน่วยตรวจสอบภายในและจัดให้มีทรัพยากรที่เพียงพอและมีบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถที่จะทำหน้าที่ตรวจสอบภายในได้ ซึ่งจะทำให้ผู้บริหารสามารถทำงานอย่างสร้างสรรค์ร่วมกับผู้ตรวจสอบภายในในการระบุความเสี่ยง และออกแบบการควบคุมที่จะป้องกันหรือลดความเสี่ยงนั้น และมอบหมายความรับผิดชอบให้ผู้ตรวจสอบ ภายในประเมินผลการควบคุมภายในเป็นระยะ ๆ เพื่อทราบจุดอ่อนของการควบคุมภายในและเสนอแนะมาตรการแก้ไขข้อบกพร่องนั้น

ไม่มีความคิดเห็น: